โค้งสุดท้าย กับการวางแผนภาษีปีนี้
หลายคนถามเข้ามาว่าวางแผนลดหย่อนภาษี ระหว่าง SSF/ RMF กับประกันบำนาญ แตกต่างกันยังไง
จริงๆแล้วสองกลุ่มนี้มีความคล้ายกันในเรื่องเงินคืนจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นเงินได้สำหรับชีวิตหลังเกษียณและต้องส่งต่อเนื่อง ตามเงื่อนไขหากต้องการเงินภาษีคืนทุกปี
แต่สิ่งที่แตกต่างคือ ประกันบำนาญ จะได้รับเงินรายงวดที่แน่นอนทุกปีตามสัญญา (ขีดเส้นใต้ตรง “รายงวด” และ “แน่นอน”) เพราะบริษัทประกันจะนำเงินที่ส่งไปลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ (ซึ่งยังไงก็ได้มากกว่าฝากธนาคารแน่นอน) เหมาะสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายขั้นพื้นฐาน เช่น ค่ากินอยู่ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเดินทาง รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ต้องจ่ายแน่ๆทุกเดือน/ทุกปี (เช่น ประกันสุขภาพ ประกันรถ ไหนจะเปลี่ยนรถใหม่อีก)
อารมณ์เหมือนบำนาญราชการยังไงยังงั้นเลย แต่เค้าให้คนทั่วไป สามารถสร้างบำนาญให้กับตัวเองได้
ขณะที่ RMF รวมถึง SSF นั้นยืดหยุ่นกว่าเพราะสามารถเลือกกองทุนตามผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ ต้องบริหารจัดการขายกองทุนเองหลังเกษียณ (อย่าลืมคิดค่าธรรมเนียมยิบย่อยจากการซื้อขายด้วยนะ)
ถ้าถามว่าควรจัดสรรเงินลงส่วนไหนมากกว่ากัน ขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางการเงินและระยะเวลาลงทุนของแต่ละคน
ส่วนตัวแนะนำให้ลงบำนาญไว้ก่อนเพื่อความชัวร์
จากนั้นค่อยเติม SSF/RMF โดยเลือกผลตอบแทนและความเสี่ยงตามช่วงอายุ หรือ Asset Allocation เพื่อป้องกันกองทุนขาดทุน
เพราะตอนเกษียณออกมา เราไม่รู้หรอกว่าช่วงนั้น
จะมีวิกฤตเศรษฐกิจ สงครามโลก หรือโรคระบาดอีกไหม ฉะนั้นควรแบ่งพอร์ตเกษียณให้มีทั้งส่วนเสี่ยงต่ำและเสี่ยงสูง เพื่อให้เราได้ใช้ชีวิตอย่างสบายใจ
#เกษียณทั้งทีต้องมั่นคงก่อนมั่งคั่ง
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ระยะเวลา การเริ่มต้นออม/ลงทุนเพื่อเกษียณ ยิ่งออม/ลงทุนเร็ว ยิ่งมีเวลาให้เงินทำงาน เงินปลายทางยิ่งเติบโต
หากพูดถึงการวางแผนเกษียณจริงๆ (ตามหลักนักวางแผนการเงิน) เค้าจะเน้นการวางแผนโดยใช้บำนาญ (Annuity) ก่อน เพราะเกษียณทั้งที ต้องมีรายรับที่”แน่นอน” เพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่ต้องใช้หลังเกษียณได้ ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มเติม เช่น ท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง สามารถใช้กองทุนต่างๆช่วยทำให้เงินงอกเงย
Asset Allocation is a key in Financial Planning
โดยเฉพาะการวางแผนแบบ 3-Bucket Strategy
ที่มีประโยชน์มาก สำหรับการวางแผนบริหารเงิน
ช่วงก่อนและหลังเกษียณ เค้าว่ากันว่า ช่วงที่น่ากลัวที่สุด คือ ช่วงหลังเกษียณใหม่ๆ
ไว้ถ้ามีโอกาส จะมาเล่าให้ฟังในโพสต่อๆไปครับ